วันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

การเลือกขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าให้เหมาะกับบ้าน
         เราทราบกันดีว่า เราสามารถขอใช้บริการไฟฟ้าได้จากทาง สำนักงานการไฟฟ้านครหลวง หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้ (แล้วแต่เขตพื้นที่ของบ้าน) โดยบ้านหลังนั้นจะต้องมีการขอบ้าน เลขที่และมีทะเบียนบ้านเสียก่อน เราจึงไปดำเนินการยื่นหลักฐานเพื่อ ขอใช้บริการ เราจะต้องชำระค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขอใช้บริการ ซึ่งค่าธรรมเนียมทั้งหลายนี้จะสูงขึ้นตามปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ขอใช้ นั่นคือยิ่งขอใช้บริการขนาดปริมาณกระแสไฟฟ้ามากก็ต้องยิ่งเสียค่า ใช้จ่ายมากนั่นเอง (ตามตารางที่1-2) ฉะนั้นเราควรจะเลือกขนาดปริมาณกระแสไฟฟ้าที่เหมาะสมกับการใช้งานเพื่อที่เราจะได้ไม่ต้อง เสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น การขอปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ใช้นั้น ชาว บ้านทั่วไปมักจะเรียกแทนด้วยขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าไปเลย หรือเรียกแทน ไปว่าขอมิเตอร์ไฟฟ้าไปก็ได้ยินบ่อย เพราะหลังจากที่เราขอใช้บริการ กระแสไฟฟ้านั้น ทางการไฟฟ้าฯจะต้องไปติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าเพื่อวัด ปริมาณการใช้งานกระแสไฟฟ้าของบ้านเราและนำไปคิดค่าบริการ รายเดือนตามปริมาณการใช้อีกที ชาวบ้านจึงเรียกการขอใช้บริการ กระแสไฟฟ้าเป็นการขอติดมิเตอร์ไฟฟ้าไปเสีย
      ตารางที่ 1: ค่าบริการขอใช้ไฟฟ้าแรงต่ำในพื้นที่จ่ายไฟฟ้าแรงดันสูงระบบสายอากาศ(กฟน.)
      ตารางที่ 2: ค่าบริการขอใช้ไฟฟ้าแรงต่ำในพื้นที่จ่ายไฟฟ้าแรงดันสูงระบบสายใต้ดิน (กฟน.)

     หมายเหตุ 1. การไฟฟ้านครหลวงจะเป็นผู้กำหนดขนาด จำนวนและตำแหน่งที่จะติดตั้งเครื่องวัดฯ ผู้ขอใช้ไฟฟ้าขอทราบรายละเอียดได้ก่อนการ ติดตั้ง 2. สถานที่ใช้ไฟฟ้าทั่วไป ที่ขอใช้ไฟฟ้าแรงต่ำอยู่ห่างจากสายไฟฟ้าแรงต่ำ หรือแรงสูงที่ต้องปักเสาและพาดสายไฟฟ้าแรงต่ำไม่เกิน 4 ต้นและระยะทางตามแนวสายไฟฟ้าไม่เกิน 140 เมตร 3. เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า 1 เฟส หมายถึง เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าที่ใช้กับแรงดันไฟฟ้า 220 โวลต์ 2 สาย 4. เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า 3 เฟส หมายถึง เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าที่ใช้กับแรงดันไฟฟ้า 380/220 โวลต์ 4 สาย 5. ในกรณีที่ผู้ขอใช้ไฟฟ้าแรงต่ำว่าจ้างการไฟฟ้านครหลวงเดินสายไฟฟ้าและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าทั้งหมด การไฟฟ้านครหลวงไม่คิดค่า ตรวจไฟฟ้า มิเตอร์ไฟฟ้านี้ถือเป็นสมบัติของการไฟฟ้าฯ เมื่อเรายกเลิกการใช้บริการเราก็จะได้เงินประกันมิเตอร์ไฟฟ้าคืน จากที่ผมเกริ่นไปในตอนต้น ว่าค่าใช้จ่ายแปรผันตามขนาดปริมาณไฟฟ้าที่ขอใช้นั้น ผมจึงขอแนะนำหลักการคิดปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ต้องการใช้ภายในบ้านไว้เพื่อให้เรา ขอปริมาณการใช้กระแสไฟฟ้า หรือขอขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าได้อย่างเหมาะสม (การเลือกขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าเล็กเกินไปทำให้ไม่สามารถใช้เครื่องใช้ ไฟฟ้าภายในบ้านได้หลายๆ เครื่องพร้อมกัน แต่ถ้าเลือกขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าใหญ่เกินไปก็สูญเสียเงินไปโดยใช่เหตุ) เริ่มจากการสำรวจการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านของเราดูว่ามีอะไรบ้าง ให้ลองสังเกตฉลากที่ติดไว้ที่ด้านหลัง หรือข้างใต้ของ เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านั้น จะระบุกำลังไฟฟ้าที่ใช้งานมีหน่วยเป็นวัตต์ (W) เราทำการเก็บรวบรวมกำลังไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิด เพื่อจะ นำมาหาปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ใช้ โดยใช้สูตรในการคำนวณคือ P = I x V (กำลังไฟฟ้า(Wวัตต์) = กระแสไฟฟ้า (Ampแอมแปร์) x ความต่างศักย์(Vโวลต์)) I = P/ V เมื่อหาปริมาณกระแสไฟฟ้าทั้งหมดแล้ว ให้นำค่ากระแสไฟฟ้าทั้งหมดมารวมกันและคูณด้วย 1.25 เป็น Factorเผื่อเอาไว้ ผมขอยกตัวอย่างประกอบเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นนะครับ บ้านพักอาศัย  โดยส่วนใหญ่จะใช้ไฟฟ้า 1 เฟส ผมจึงขอยกตัวอย่างประกอบเป็น ไฟฟ้า 1 เฟสก็แล้วกันครับ สมมุติว่าเราทำการสำรวจเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านเราทั้งหมดแล้วและนำมาคำนวณแปลงจากค่ากำลังไฟฟ้า(W) เป็นค่ากระแสไฟฟ้า ที่ใช้ (Amp) โดยใช้สูตรการคำนวณที่กล่าวไปข้างต้น ดังนี้
   จะเห็นว่าเราใช้กระแสไฟฟ้าประมาณ 44.95 แอมแปร์ ฉะนั้น ควรเลือกมิเตอร์ขนาด 30 แอมป์ก็เพียงพอเนื่องจากมิเตอร์ขนาด 30 แอมป์นั้น เผื่อค่ากระแสไฟฟ้าไว้ถึง 100 แอมป์ หรือทั่วไปเรียกว่ามิเตอร์ขนาด 30/100 แอมป์ (ดูตาราง 1-2) สังเกตว่าเราคิดโหลดไฟฟ้า ทั้งหมดเสมือนว่าเราเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกตัวพร้อมกัน แต่สภาพการใช้งานจริงนั้น เราไม่ได้ ใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกๆ ตัวพร้อมกัน ฉะนั้น ขนาดมิเตอร์ไฟฟ้า 30 แอมป์ ที่เราเลือกนั้น จึงเพียงพอ ทั้งนี้เราอาจจะคิดเผื่อปริมาณเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการจะใช้งานเผื่อในอนาคต รวมไปด้วยก็ได้ เช่น หากครอบครัวจะมีสมาชิกเพิ่มจะมีการใช้เครื่องปรับอากาศเพิ่มอีก 1 ชุด เป็นต้น ก็ให้คิดกระแสไฟฟ้าเผื่อในส่วนนี้ไปเลยจะได้ไม่ต้องเสียเวลาไปขอเพิ่มปริมาณ การใช้กระแสไฟฟ้าในอนาคต (หรือที่ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่าขอเพิ่มขนาดมิเตอร์ไฟฟ้านั่นล่ะ) หลังจากอ่านบทความแล้วคุณลองไปตรวจดูขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าที่บ้านคุณเองหรือยัง ว่าเหมาะสมหรือไม่?


ขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าของบ้านที่จะติดแอร์
      การจะเลือกเครื่องปรับอากาศหรือแอร์เพื่อนำมาติดตั้งใช้งานในบ้านพักอาศัยทั่วๆไป สิ่งหนึ่งที่ผู้ใช้แอร์หลายท่านอาจจะไม่ทราบและถือว่าเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นๆ ที่ควรจะนำมาพิจารณา ก็คือเรื่องของขนาดมิเตอร์วัดหน่วยการใช้ไฟฟ้า (kW/Hours Meter) ที่การไฟฟ้าฯได้ติดตั้งให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าแต่ละราย เนื่องจากมิเตอร์วัดหน่วยไฟฟ้าหรือมิเตอร์ไฟฟ้า ที่การไฟฟ้านำมาติดตั้งให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าแต่ละรายมีขนาดที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้เพื่อรองรับปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่แตกต่างกันไปในผู้ใช้แต่ละราย
        สำหรับการเลือกขนาดมิเตอร์ไฟฟ้านั้นหากมีความต้องการใช้ไฟฟ้าจำนวนมากพร้อมกันในเวลาเดียว ก็จะต้องเลือกขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าที่ใหญ่ขึ้นและค่าใช้จ่ายในการขอใช้ไฟฟ้าก็จะเพิ่มมากขึ้นตามขนาดที่เพิ่มขึ้นอีกด้วยดังนั้นการเลือกขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าควรจะประเมินให้ใกล้เคียงกับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เป็นอยู่ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในส่วนที่ไม่จำเป็นออกไป
ซึ่งความหมายของค่าพิกัดที่บอกขนาดของมิเตอร์ 
ยกตัวอย่างค่าพิกัดกระแสไฟฟ้า 5(15) A ที่แสดงบนมิเตอร์ไฟฟ้า 
สำหรับ 5(15) ตัวเลขข้างหน้านั้นจะบอกขนาดของมิเตอร์ ซึ่งในกรณีนี้คือมิเตอร์ขนาด 5 A 
และในส่วนของตัวเลขที่อยู่ในวงเล็บ (15) เป็นค่าพิกัดกระแสสูงสุดที่มิเตอร์ตัวนั้นจะสามารถรองรับได้ในช่วงเวลาหนึ่ง (ต่อเนื่องกันไม่เกิน 3 ชั่วโมง) โดยค่อพิกัดสูงสุดในกรณีนี้คือ 15

แต่หากยังคงมีการใช้ไฟฟ้ามากเกินกว่าพิกัดสูงสุดที่แสดงในวงเล็บ ก็จะเข้าสู่สภาวะที่เรียกว่ากระแสเกินพิกัด(Over Load) ซึ่งผลที่ตามมานั้นจะทำให้การวัดของมิเตอร์เริ่มเกิดความคลาดเคลื่อนขึ้นเรื่อยๆ และที่ร้ายแรงสุดคือมิเตอร์อาจจะพังเสียหายได้

การป้องกันความเสียหายที่เกิดจากการใช้กระแสไฟฟ้าเกินพิกัด สามารถทำได้โดยการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกัน จำพวก ฟิวส์ หรือ เบรกเกอร์ ที่มีพิกัดกระแสสัมพันธ์กันกับขนาดพิกัดสูงสุดของมิเตอร์ ซึ่งเมื่อเกิดกรณีที่มีการใช้ไฟฟ้าเกินพิกัด อุปกรณ์ป้องกันที่ติดตั้งไว้ ก็จะทำการปลดวงจรไฟฟ้าอัตโนมัติ ก่อนที่มิเตอร์จะได้รับความเสียหาย ซึ่งการเลือกขนาดอุปกรณ์ที่เหมาะสมก็ดังเช่นที่แสดงในตารางข้างล่างนี้
แต่หากพูดถึงกรณีของบ้านพักอาศัยทั่วๆไปที่ไม่ได้มีการประเมินเผื่อไว้ตั้งแต่แรก โดยส่วนใหญ่นั้นก็มักจะมีการติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า 1 เฟสขนาดเริ่มต้นมาให้แล้ว ซึ่งเป็นมิเตอร์ขนาด 5(15) A โดยถือว่าเป็นขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าที่เล็กสุดที่การไฟฟ้าฯมีไว้ให้สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อย
และด้วยความที่ว่ามีบ้านเรือนจำนวนค่อนข้างมาก ยังคงใช้มิเตอร์ขนาด 5(15) A อยู่ในปัจจุบันนี้ ทำให้มีหลายท่านเกิดความกังวลหรือข้อสงสัยว่ามิเตอร์ขนาดนี้ จะรองรับการใช้งานของแอร์ได้หรือเปล่าเพราะหลายๆท่านก็อาจจะได้ทราบกันมาก่อนแล้ว ว่าแอร์เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟค่อนข้างมาก 
ซึ่งถ้าเป็นแอร์รุ่นเก่าๆเมื่อ 20-30 ปีที่แล้ว ก็คงจะเป็นดังเช่นที่หลายๆท่านได้ทราบกันมา เพราะแอร์ในยุคนั้น ขนาดหมื่นกว่า BTU เป็นต้นไปก็กินกระแสไฟฟ้าที่ราวๆไม่ต่ำกว่า 10 A และเนื่องจากแอร์ยุคนั้นที่ใช้กันในบ้านเรา ส่วนใหญ่ใช้คอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ ซึ่งทำให้ช่วงเริ่มสตาร์ทจะกินกระแสกระชากเพิ่มไปอีกหลายเท่า และทำให้บ้านที่ใช้มิเตอร์ขนาดเล็กสุดอย่าง 5(15)A ดูจะรับไม่ไหว หากต้องติดแอร์แบบนี้เพิ่มเข้าไป
แต่ด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นทำให้แอร์ในยุคปัจจุบันประหยัดไฟมากขึ้นเมื่อเทียบกับบรรพบุรุษของมันในยุคหลายสิบปีก่อน เริ่มที่การเข้ามาแทนที่คอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ ด้วยคอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่ และล่าสุดคือการนำเอาระบบการควบคุมทางไฟฟ้า ผนวกกับระบบควบคุมและประมวลผลทำให้ได้เป็นแอร์ที่ประหยัดไฟมากขึ้นไปอีก ในปัจจุบันแอร์ขนาดเริ่มต้น เช่น 9,000 BTU ก็กินกระแสไฟฟ้าเฉลี่ยที่ราวๆ 3-3.5 A และ12,000 BTU ก็กินกระแสไฟฟ้าเฉลี่ยที่ราวๆ 4-5 A

นี่จึงทำให้การนำแอร์ขนาด9,000- 12,000 BTU เข้ามาติดตั้งใช้งาน ในบ้านที่ใช้มิเตอร์ขนาด 5(15)A สามารถทำได้โดยที่ยังไม่ต้องขอมิเตอร์ขนาดเพิ่มขึ้น
แต่ถึงแม้ว่ามิเตอร์ขนาดนี้จะสามารถติดตั้งแอร์และใช้งานได้ก็ตามแต่ก็ยังต้องมีข้อจำกัด ของจำนวนแอร์ที่จะติดตั้งด้วย ซึ่งตามหลักแล้วการติดตั้งแอร์ขนาด 9,000 - 12,000 BTU เข้ากับบ้านที่ใช้มิเตอร์ 5(15) A ควรติดตั้งแอร์สูงสุดไม่เกินสองเครื่องและในการใช้งาน ทางที่ดีนั้นไม่ควรเปิดใช้งานพร้อมกันในเวลาเดียว แต่หากจำเป็นต้องเปิดใช้งานพร้อมกันทั้งสองเครื่องในเวลาเดียวกันต้องหลีกเลี่ยงหรืองดการใช้งานพวกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟมากๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้สำหรับให้ความร้อนเช่น เตาขดลวดไฟฟ้า, เตาแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ เตารีด เป็นต้นเพราะจะทำให้เกิดโอกาสที่กระแสไฟฟ้าจะเกินพิกัดได้
แต่ถ้าหากเป็นกรณีที่จำเป็นต้องติดตั้งแอร์มากกว่าสองเครื่อง หรือต้องการติดตั้งแอร์เพิ่มโดยที่แอร์เครื่องนั้น มีขนาดทำความเย็นตั้งแต่ 18,000 BTU ขึ้นไป ควรจะทำการขอเพิ่มขนาดมิเตอร์ให้ใหญ่ขึ้นจากเดิม เพราะถือว่าเกินขีดจำกัดที่เหมาสมของการใช้มิเตอร์ 5(15) A แล้วการขอเพิ่มขนาดมิเตอร์นั้นอาจจะขอเพิ่มเป็นขนาด15(45) A หรือ 30(100) A ซึ่งก็ขึ้นกับงบประมาณและความเหมาะสมในการใช้งานจริง
สำหรับผู้อ่านท่านใดที่กำลังอยู่ในระหว่างสร้างบ้าน หรือระหว่างการปรับปรุงบ้านเรื่องของขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าที่ควรจะเป็นสำหรับบ้านพักอาศัยทั่วไปที่อยู่ในเมืองหรือในแถบชานเมืองนั้นขนาดที่เหมาะสมของมิเตอร์ควรจะเริ่มที่มิเตอร์ 1 เฟสขนาด 15(45) A เพราะขนาดมิเตอร์ที่ 5(15) A นั้นดูเหมือนจะค่อนข้างเล็กไป เมื่อเทียบกับการใช้ไฟฟ้าในยุคนี้ที่ส่วนใหญ่จะใช้แอร์กันแทบทุกบ้านแล้ว ก็ยังมีเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆเพิ่มเข้ามา และหนึ่งในนั้นเป็นสิ่งที่บ้านส่วนใหญ่ในยุคปัจจุบันมักมีใช้นั่นก็คือเครื่องทำน้ำอุ่น ซึ่งเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าอีกประเภทหนึ่งที่ขึ้นชื่อว่ากินไฟเยอะอยู่แล้วด้วย